การหายใจระดับเซลล์
Cellular Respiration
รายชื่อสมาชิก
นางสาว จิราพัชร โพธิญาณ เลขที่17 ม.4/1
นางสาว ธนัญชนก แก้วโภคา เลขที่20 ม.4/1
เสนอ
คุณครูสรัญญา พินาธุวงค์
โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
การหายใจระดับเซลล์ (cellular respiratio) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างพลังงานสำหรับนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์ ที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต พลังงานที่เซลล์ต้องการชนิดหนึ่งอยู่ในรูปของสารประกอบพลังงานสูงที่เรียกว่า ATP (adenosin triphosphate) ซึ่งได้จากการสลายสารอาหาร ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และลิพิด จากอหารที่ร่างกายได้รับ
การหายใจระดับเซลล์
การหายใจระดับเซลล์ในภาวะที่มีออกซิเจนเพียงพอ
คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารหลักที่เซลล์สามารถนำไปใช้ในการสร้างพลังงาน โดยคาร์โบไฮเดรตจะผ่านการย่อยจนกลายเป็นมอนอแซ็กคาไรด์ เช่น กลูโคส ซึ่งจะมีการลำเลียงเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้ในการสร้างพลังงานต่อไป เซลล์มีกระบวนการสลายกลูโคสเพื่อให้เป็นหลังงานได้ โดย การสร้างพลังงานจากการสลายสารอาหารเมื่อเกิดการหายใจระดับเซลล์อย่างสมบูรณ์ ประกอบด้วกระบวนการต่างๆ คือ
ไกลโคไลซิส (glycolysis)
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการแรกในการหายใจระดับเซลล์ เกิดขึ้นที่บริเวณไซโทซอล (ส่วนที่เป็นของกึ่งเหลวในไซโทพลาซึม) โดยจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนในกระบวนการก็ได้ เป็นการสลายกลูโคส 1 โมเลกุล ซึ่งมีคาร์บอน 6 อะตอม ให้อยู่ในรูปของกรดไพรูวิก (Pyruvic Acid) ซึ่งมีคาร์บอนอยู่ 3 อะตอม จำนวน 2 โมเลกุล และในกระบวนการนี้ยังได้เป็น 2 ATP กับ 2 NADH ออกมาด้วย
เกิดขึ้นในคริสตี (Cristae) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย กระบวนการนี้เริ่มจาก NADH และ FADH2 ในวัฏจักรเครบส์ซึ่งเป็นสมมูลย์รีดิวซ์ มีการให้หรือส่งต่ออิเล็กตรอนแก่ตัวรับอิเล็กตรอนที่แทรกอยู่ในเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย และปลดปล่อยพลังงานออกมา เป็นพลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายโปรตอน (H+) ออกไปอยู่ด้านนอกของเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย ทำให้ด้านนอกมีความเป็นกรดมากขึ้น ดังนั้น เซลล์จึงพยายามรักษาสมดุลโดยการย้ายโปรตอนเข้าสู่ด้านในอีกครั้งผ่านการทำงานของเอนไซม์ ATP Synthase และทำให้โปรตอนเหล่านั้นกลายเป็น ATP 34 โมเลกุล
กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอน(electron transport chain)
วัฏจักรเครบส์ (Krebs cycle)
เกิดขึ้นที่บริเวณเมทริกซ์ซึ่งเป็นของเหลวที่อยู่ในไมโทคอนเดรีย เริ่มต้นจากแอซิทิลโคเอนไซม์เอรวมกับสารประกอบกรดออกซาโลแอซิติก ได้เป็นกรดซิตริก จากนั้นยังมีขั้นตอนย่อย ๆ เกิดขึ้นอีกหลายขั้นตอนในวัฏจักรนี้ โดยแอซิทิลโคเอนไซม์เอ 2 โมเลกุล จะได้เป็น 2 ATP, 6 NADH, 2 FADH2 และคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
การสร้างแอซิทิลโคเอนไซม์เอ (acetyl coenzyme A)
ขั้นตอนนี้เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างไกลโคไลซิสกับวัฎจักรเครบส์ มีกรดไพรูวิกเป็นสารตั้งต้นเกิดขึ้นที่ของเหลวในไมโทคอนเดรีย (metrix) โดยกรดไพรูวิกแต่ละโมเลกุลจะทำปฏิกิริยากับโคเอนไซม์ เอ (Co-enzyme A)ได้เป็น อะซิติลโคเอนไซม์ เอ (Acetyl Co A) ซึ่งแต่ละโมเลกุลมีคาร์บอน 2 อะตอม และคาร์บอนไดออกไซด์ 1โมเลกุล และมีการปล่อยไฮโดรเจน 2 อะตอม โดยมี NAD+ (ตัวนำอิเล็กตรอน) มารับและเปลี่ยนไปเป็น NADH + H+
การหมักให้เกิดกแล็กทิก(lacticacidfermentation) หมายถึงการหมัก(fermentation)น้ำตาลกลูโคส (glucose)ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนหรือมีปริมาณออกซิเจนน้อยโดยกรดไพรูวิกจะทำหน้าที่เป็นตัวรับอิเล็กตรอนเกิดเป็นกรดแล็กทิก (lactic acid)
กระบวนการหมักกรดแลกติก (lactic acid fermentation)
กระบวนการหมักแอลกอฮอล์ (Alcoholic fermentation)
กระบวนการหมักแอลกอฮอล์ (Alcoholic fermentation) โดยเริ่มจากไกลโคลิซีส เช่นเดียว กับการสลายกลูโคสโดยใช้ออกซิเจน และได้กรดไพรูวิก 2 โมเลกุล พร้อมปล่อย ATP 2 โมเลกุล และ 4 ไฮโดรเจน อะตอม เช่นกัน แต่ NADH + H+ จะถ่ายทอดอะตอมของไฮโดรเจนไปยัง acetaldehyde ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอน 2 อะตอม ทำให้ไม่สามารถใช้พลังงานจากอิเล็กตรอนที่มีอยู่ในอะตอมของไฮโดรเจนมาสร้าง ATP ได้อีก ดังนั้นการสลายกลูโคส 1 โมเลกุลจึงได้ ATP เพียง 2 โมเลกุล เอทิลแอลกอฮอล์เป็นสารพิษเป็นอันตรายต่อเซลล์ ถ้ามีเอทิลแอลกอฮอล์มากๆ ยีสต์อาจทนไม่ได้และตายในที่สุด
ไขมัน(Fat)เป็นสารอาหารชนิดหนึ่งซึ่งสามารถให้พลังงานได้ ไขมันเมื่อรวมตัวกับน้ำดีแล้วจะถูกย่อยโดยเอนไซม์ลิเพสพร้อมด้วยไฮโดรไลซีสได้เป็นสารที่โมเลกุลเล็กลงคือ กรดไขมัน(Fatty acid) และกลีเซอรอล (Glycerol)สารทั้งสองนี้จะมีการสลายตัวต่อไปอีก และเข้าสู่กระบวนการกลูโคสออกซิเดชันคนละทางกันกลีเซอรอลเป็นสารประกอบประเภทแอลกอฮอล์ จะถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารตัวกลางในกระบวนการไกลโคลิซีส กลายเป็นสารฟอสโฟกลีเซอรอลดีไฮด์(Phosphoglyceraldehyde หรือ PGAL) ซึ่งต้องใช้ ATP 1 โมเลกุล และปล่อยไฮโดรเจนออกมา 2 อะตอม โดยมี NAD+
การสลายลิพิดและโปรตีน
การสลายโมเลกุลของสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน
กระบวนการสลายสารอาหารแบบใช้ออกซิเจนเป็นการสลายสารอินทรีย์ที่มีพลังงานสูงให้เป็นสารอนินทรีย์ที่มีพลังงานต่ำ โดยใช้ออกซิเจน ในที่นี้ของกล่าวถึง การสลายน้ำตาลกลูโคสเป็นเบื้องต้นก่อน การสลายโมเลกุลของกลูโคส พลังงานที่อยู่ในโมเลกุลของกลูโคสนี้ จะปลดปล่อยและนำไปสร้างสารพลังงานสูง เช่น ATP ซึ่งเซลล์สามารถนำไปใช้ต่อได้ แต่เนื่องจากการปลดปล่อยพลังงานจากกลูโคสในครั้งเดียวจะให้พลังงานสูงซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์ สิ่งที่น่าสงสัยคือ เซลล์มีกระบวนการอย่างไร จึงจะมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาทีละน้อยเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ เพื่อให้การปลดปล่อยพลังงานจากสารอาหารออกมาทีละน้อยๆ